top of page

โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย
ห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย
(Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand; ESPReL)

คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความเป็นมา

   โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย เป็นโครงการที่เกิดจากการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ให้เกิดมาตรฐานการดำเนินงานวิจัยในประเทศ โดยการจัดทำและพัฒนามาตรฐานการวิจัยเฉพาะด้านในหลายๆด้าน เช่น มาตรฐานการวิจัยในคน มาตรฐานการวิจัยโดยใช้สัตว์ทดลอง และจริยธรรมในการดำเนินงานวิจัย สำหรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยนั้น วช.ให้ความสำคัญและมีนโยบายให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกับการทำให้เกิดความปลอดภัยกับนักวิจัย และสามารถรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานให้มีมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นและอาจใช้เป็นประโยชน์กับการบริหารการจัดสรรทุนวิจัยในอนาคตได้ด้วย

     การดำเนินการโครงการนี้ เบื้องต้นได้มีการปรึกษาและสอบถามความเห็นของนักวิจัยจำนวนหนึ่ง ในหน่วยงานและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ข้อคิดเห็นไปในแนวเดียวกันว่า นักวิจัยไทยสามารถผลิตผลงานคุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิจัยที่มี impact factor สูง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการกำหนดข้อปฏิบัติหรือข้อบังคับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ไม่มีกฏหมายหรือองค์กรเฉพาะที่ดูแลให้เกิดข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยให้กับนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงาน ขาดกลไกการสร้างความตระหนักต่อความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆรอบตัว นอกจากนี้การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่จะไปมีอาชีพวิจัย ยังขาดตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับ วช. และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมหารือกับนักวิจัยจากหน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เข้าใจตรงกันและยอมรับได้จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและได้แนวทางในการดำเนินงานโดยกระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม ด้วยการสร้างภาคีของหน่วยงานและห้องปฏิบัติการนำร่อง เพื่อร่วมมือกันรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลฐานความรู้และจัดทำ "ร่างแนวปฏิบัติห้องปฏิบัติการวิจัยที่ดี” มีการทดลองใช้ร่างแนวปฏิบัติฯทำการปรับแก้จนเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติได้ พร้อมทั้งผลักดันให้ได้เครื่องมือที่เป็นรูปธรรม คือ ห้องปฏิบัติการต้นแบบที่ดำเนินงานวิจัยโดยมีแนวปฏิบัติห้องปฏิบัติการวิจัยที่ดีและขับเคลื่อนให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโครงการ

1. ห้องปฏิบัติการเคมี จำนวน 4 ห้อง
2. ห้องปฏิบัติการชีววิทยา จำนวน 3 ห้อง

3. ห้องปฏิบัติการกลาง(ห้องเครื่องมือกลาง) จำนวน 2 ห้อง

4. ห้องปฏิบัติการชีวเคมี จำนวน 1 ห้อง

5. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา จำนวน 1 ห้อง

6. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสาสตร์สิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ห้อง

 ภาพ-ข่าว การอบรม/สัมมนา/กิจกรรมต่างๆ

bottom of page